หลักสูตร การควบคุมกระบวนการผลิตเชิงสถิติ
(Statistics Process Control: SPC)
หลักการและเหตุผล การควบคุมกระบวนการผลิตเชิงสถิติ คือ เครื่องมือในการวิเคราะห์และตัดสินใจในกระบวนผลิตเพื่อให้สามารถควบคุม ติดตามการปฏิบัติงานการผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจในกระบวนการผลิตที่เป็นเลิศ และเป็นเครื่องมือที่ใช้ป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการผลิตอย่างได้ผล ทั้งด้านการผลิต
สินค้าที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอด้วยการลดความแปรปรวนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต และเพิ่มศักยภาพในการลดของเสียที่เกิดขึ้น รวมถึงเพิ่มความสามารถในการหาแนวทางในการป้องกันหรือตรวจพบของเสียได้ในเชิงรุก ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง และลดระยะเวลาการผลิตได้ด้วยการกำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
การควบคุมกระบวนการผลิตเชิงสถิติยังช่วยเพิ่มความสามารถในส่งมอบ
สินค้าได้ทันตามที่ลูกค้าต้องการ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้นด้วยการติดตามและควบคุมกระบวนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนากระบวนการผลิตได้ด้วยการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคเชิงสถิติที่เหมาะสมจากข้อมูลการผลิตที่ได้บันทึกและรวบรวมไว้ เพื่อควบคุมความแปรปรวนที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด รวมถึงสามารถพยากรณ์คุณภาพของสินค้าที่จะผลิตขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ
วัตถุประสงค์1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ประโยชน์ และมีความสามารถในการบรรลุผลการดำเนินงานการควบคุมกระบวนการผลิตเชิงสถิติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อทราบถึงขั้นตอนการดำเนินงานการควบคุมกระบวนการผลิตเชิงสถิติอย่างถูกต้อง
3. เพื่อสามารถวางแผน สรรค์สร้าง ปรับปรุง พัฒนาโครงการต่าง ๆ โดยใช้แนวทางการควบคุมกระบวนการผลิตเชิงสถิติสำหรับการดำเนินงาน ทั้งการผลิตและด้านคุณภาพของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อทราบถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อควบคุมกระบวนการผลิตเชิงสถิติ
5. เพื่อลดของเสีย ลดต้นทุน ลดระยะเวลาการดำเนินงาน ลดความสูญเปล่า ลดข้อบกพร่องและความสูญเสีย และเพิ่มคุณค่าให้กับการดำเนินงานการผลิตของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง
เนื้อหาของหลักสูตร
1. การควบคุมกระบวนการผลิตเชิงสถิติคืออะไร วัตถุประสงค์ ประโยชน์
2. วิวัฒธนาการของการควบคุมกระบวนการผลิตเชิงสถิติ
3. หลักการ กฎเกณฑ์ และขั้นตอนการควบคุมกระบวนการผลิตเชิงสถิติ
4. ความรู้พื้นฐานการควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ
การแจกแจงแบบปกติ (Normal Distribution)
ความแปรปรวน (Variance)
5. การสร้างแผนภูมิพาเรโต้ (Pareto) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
6. การสร้างแผนภูมิควบคุม (Control Chart)
แผนภูมิควบคุมแบบ Xbar-S Chart
แผนภูมิควบคุมแบบ Xbar-R Chart
แผนภูมิควบคุมแบบ X-MR/I-MR Chart
แผนภูมิควบคุมของเสียแบบ c-chart
แผนภูมิควบคุมของเสียแบบ u-chart
แผนภูมิควบคุมของชำรุดแบบ np-chart
แผนภูมิควบคุมของชำรุดแบบ p-chart
7. การวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการ (Process Capability)
การวิเคราะห์ Cp, Cpk
การวิเคราะห์ Pp, Ppk
ระยะเวลาอบรม 1 วัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
รูปแบบการฝึกอบรม การบรรยาย ให้คำปรึกษา แนะนำ Workshop (Option)
กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหลัก ผู้บริหารระดับสูง, ผู้จัดการโรงงาน/ ผู้บริหารระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายวางแผนการผลิต วิศวกร และฝ่ายอื่นๆ ที่สนใจ